วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

คาร์โบไฮเดรต

คำถามก่อนเรียน

1.  คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )  คือ  ....
2.  คาร์โบไฮเดรต  มีกี่ประเภท  คือ ....
3.  การทดสอบแป้งสามารถทดสอบได้  โดยการใส่สารใด....
4.  จงยกตัวอย่างไดแซ็กคาไรด์ ( น้ำตาลโมเลกุลคู่ ) มา 2 ชนิด ....
5.  พอลิแซ็กคาไรด์ มีกี่ชนิด  อะไรบ้าง ....
6.  การทดสอบน้ำตาลกลูโคส  ใช้สารอะไรทดสอบ ....
7.  สูตรทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตคือ  ?
8.  จงบอกหน้าที่และประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต ....
9.  กรดนิวคลีอิก เป็นสารโมเลกุลชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็น  กี่ชนิดอะไรบ้าง ....
10. น้ำตาลกาแลกโทสพบมากใน  ....


คาร์โบไฮเดรตคืออะไร
คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )  คือ   สารอาหารที่ประกอบด้วยคาร์บอน           (C) ไฮโดรเจน  ( H )  และออกซิเจน (O)  มีสูตรทั่วไปเป็น (CH 2 O) n คาร์โบไฮเดรตเรียกอีกอย่างว่า แซ็กคาไรด์ มีทั้ง  โมเลกุลขนาดเล็ก ได้แก่ มอโนแซ็กคาไรด์ ไดแซ็กคาไรด์ และพอลิแซ็กคาไรด์

คาร์โบไฮเดรต
ได้แก่  พวกแป้ง  ข้าว  น้ำตาล  เผือก  มัน  ฯลฯ    มี  2  ประเภท   ดังนี้
1.   น้ำตาล   ได้แก่  คาร์โบไฮเดรตที่มีรสหวาน  ละลายน้ำได้   ได้แก่   ก.  น้ำตาลเชิงเดี่ยว  ( Mono  saccharide ) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็ก คาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกัน  คือ กลูโคสทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ได้เร็วกว่า  ซูโครส แป้งไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์  แต่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน  ส่วยเซลลูโลสไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายทั้งสองชนิดนี้
        อาหารที่นำมาทดสอบจะให้ผล   ดังนี้
        -  เส้นก๋วยเตี๋ยว  ขนมปัง  วุ้นเส้น  กล้วยน้ำว้า  ทดสอบโดยใช้สารละลายไอโอดีน  ให้สีน้ำเงินแสดงว่า มีแป้ง  - แบะแซ  น้ำผึ้ง  น้ำตาลกรวด   กล้วยน้ำว้า  ขนมปัง  ( ถ้ามีรสหวาน )   ทดสอบโดยใช้สารละลายเบเนดิกต์   ถ้าเปลี่ยนสีของสารละลายจากฟ้าเป็นเขียว  แล้วเหลืองในที่สุด   ได้ตะกอนสีแดงส้ม  แสดงว่ามีน้ำตาล
        1.  คาร์โบไฮเดรตต่างชนิดกันมีสมบัติต่างกัน
        2.  การทดสอบน้ำตาลใช้สารละลายเบเนดิกต์    คือ   เปลี่ยนสีของสารละลายเบเนดิกต์จากสีฟ้าเป็นสีเขียวแล้วเหลือง   ในที่สุดจะได้ตะกอนสีส้มแดง  ตามลำดับ
        3.  แป้งไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์  แต่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีนให้สีน้ำเงิน
        4.  เซลลูโลสไม่ทำปฏิกิริยาทั้งสารละลายเบเนดิกต์และสารละลายไอโอดีน
        5.  แป้งสามารถย่อยให้เป็นน้ำตาลได้  โดยการต้มกับกรดไฮโดรคลอริก
      ในการแช่สารละลายของน้ำตาลซูโครสและน้ำแป้ง   กับสารละลายเบเนดิกต์ในน้ำเดือด  ให้แช่ไว้ภายในเวลาที่กำหนด  ถ้าแช่นานเกินไป      ซูโครสหรือน้ำแป้งบางส่วนจะถูกเบสในสารละลายเบเนดิกต์ทำให้แตกตัวเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว  และเกิดปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ทำให้เกิดตะกอนสีส้มแดงเล็กน้อย
     การต้มสารละลายกลูโคส  ซูโครส  แป้ง และ สำลี กับ กรดไฮโดรคลอริก  เพื่อทำให้สารละลายเป็นกลางด้วยสารละลายโซเดียวไฮดรอกไซด์  แล้วทดสอบด้วยสารละลายเบเนดิกต์   ปรากฏว่า  น้ำตาลซูโครส และ น้ำแป้งมีตะกอนสีส้มแดงหรือสีแดงอิฐเกิดขึ้น  แสดงว่ากรดไฮโดรคลอริกทำให้น้ำตาลซูโครสและแป้งแตกตัวเป็นน้ำตาลโมเลกลุเดี่ยวได้


1.1.1   น้ำตาล
ร่างกายย่อยสลาย และ ดูดซึมได้ง่าย   เช่น
        -  กลูโคส   ( Glucose )    เด็กซ์โทรส   น้ำตาลองุ่น  ( Grape  Sugar )
        -  ฟรุคโตส  ( Fructose )   หรือ น้ำตาลผลไม้   ( Fruit  Sugar )   พบในผลไม้และน้ำผึ้ง
        -  กาแลคโตส  ( Galactose )   ไม่ปรากฎอิสระในธรรมชาติ  แต่มีสูตรโครงสร้างแตกต่างกัน
                              
การทดสอบน้ำตาลกลูโคส
          ทดสอบโดยใช้สารละลายเบเนดิกต์  ( Benedict s   solution )  เติมลงในสารที่ต้องการทดสอบ  นำไปต้ม  ถ้าเป็น กลูโคส จะเปลี่ยนสี   จากสีฟ้าเป็นตะกอนสีส้มอิฐ
        ข.   น้ำตาลเชิงคู่   ( Disaccharide    ร่างกายเมื่อได้รับจะไม่สามารถใช้ได้ทันที   ต้องเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยวก่อน  ได้จากการรวมตัวของน้ำตาลเชิงเดี่ยว  2  โมเลกุลและเกิดการควบแน่นได้น้ำ  1  โมเลกุล  
ตัวอย่าง
        -  ซูโครส  ( Sucrose )   หรือ  น้ำตาลทราย   น้ำตาลอ้อย  หรือ น้ำตาลหัวผักกาดหวาน    ประโยชน์ใช้ทำลูกอม   เป็นสารถนอมอาหาร  ได้จากน้ำตาลเชิงเดี่ยว 2  ตัว    ดังสมการ
        กลูโคส    +   ฟรุคโตส       ซูโคส   +   น้ำ
        -  มอลโตส   ( Maltose )   หรือ น้ำตาลมอลล์   มีในข้าวบาร์เลย์ หรือ ข้าวมอลล์    ที่กำลังงงอกประโยชน์   ใช้ทำเบียร์  ทำเครื่องดื่ม  และอาหารเด็ก   ได้จากน้ำตาลเชิงเดี่ยว 2  ตัว  ดังสมการ
        กลูโคส   +  กลูโคส       มอลโตส  +  น้ำ
        -  แลคโตส  ( Lactose )    หรือ น้ำตาลนม    ผลิตภัณฑ์จากต่อมน้ำนมของสัตว์  ประโยชน์ใช้ทำขนมปัง  อาหารเด็กอ่อน   ได้จากน้ำตาลเชิงเดี่ยว 2  ตัว    ดังสมการ
        กลูโคส  +  กาแลคโตส     แลคโตส  +  น้ำ
        1.   น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและโมเลกุลคู่ในปริมาณน้ำหนักต่อโมลเท่าๆ กัน   จะมีความหวานต่างกัน  ฟรุกโทส  เป็นน้ำตาลตามธรรมชาติที่มีความหวานมากที่สุด   ฟรุกโทสมีรสหวานมากกว่าซูโครส   ส่วนซูโครสมีรสหวานมากกว่ากลูโคสและมอลโทส   ในองุ่นมีกลูโคสอยู่มาก   ฟรุกโทสมีมากในน้ำผึ้ง   ซูโครสพบมากในอ้อยและหัวบีท  นอกจากนี้นผลไม้ที่มีรสหวานเกือบทุกชนิดจะมีซูโครสอยู่ด้วย   ส่วนมอลโทสพบในข้าวมอลล์ที่กำลังงอก
        2.  ซูโครส เป็นน้ำตาลโมเลกุลคูที่ร่างกายดูดซึมได้   ก่อนที่ร่างกายจะนำไปใช้ ซูโครสจะถูกเอนไซม์ในลำไส้ย่อยให้สลายตัวเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว  คือ กลูโคสและฟรุกโทส  แล้วร่างกายจึงนำไปใช้
 
 1.1.2   แป้งและเซลลูโลส    สรุปได้ว่าทั้งแป้งและเซลลูโลส  ต่างประกอบด้วยโมเลกุลของกลูโคสจำนวนมากมายนับพันโมเลกุล  แต่สารทั้งสองมีสมบัติต่างกัน  เนื่องจากโครงสร้างไม่เหมือนกัน  พวกที่ไม่ใช่น้ำตาล   เป็นคาร์โบไฮเดรตทีไม่มีรสหวาน  และไม่ละลายน้ำ  เรียกว่า คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ( Polysaccharide )
          ตัวอย่าง   เช่น   แป้ง   ไกลโคเจน   เซลลูโลส  ไคติน
        -  แป้ง  พบในเมล็ด  ราก  หรือหัว  และใบของพืข  เช่น  ข้าว  มัน  เผือก  กลอย
        -  ไกลโคเจน   มีในร่างกายมนุษย์ถูกสะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ  เมื่อร่างกายขาดแคลน   เปลี่ยนเป็นกลูโคสได้
                  กลูโคส     ไกลไคเจน
        -  เซลลูโลส   พบที่ผนังเซลล์ของพืชทุกชนิด  เอนไซม์ในร่างกายมนุษย์ย่อยไม่ได้   แต่ช่วยเพิ่มกากอาหร
        -  ไคติน   เป็นสารที่พบในเปลืองกุ้ง  และ แมลง
        ส่วนของพืชที่ประกอบด้วย แป้ง  ได้แก่  เมล็ด  ราก และลำต้นใต้ดิน  ส่วนของพืชที่ประกอบด้วยเซลลูโลส  คือ  โครงสร้างเกือบทั้งหมดของพืช  โดยเฉพาะที่เปลือก ใบ  และเส้นใยที่ปนในเนื้อผลไม้
        ข้าวที่หุงดิบๆ สุกๆ หรือ ข้าวโพดดิบ  เมื่อกินเข้าไปแล้วอาจมีอาการท้องอืด  ท้องเฟ้อ  เพราะแป้งย่อยสลายเป็นกลูโคสได้ยาก
        ในร่างกายของมนุษย์ไม่มีเอนไซม์สำหรับย่อยอาหารของสัตว์ที่กินพืชจะมีสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจำพวกโปรโตชัวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก   โปรโตซัวเหล่านี้สามารถปผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นกลูโคสได้  สัตว์จำพวกดังกล่าว เช่น  วัว  ควาย  ปลวก  จึงสามารถใช้ประโยชน์จากเซลลูโลสได้
        ไกลโคเจน  ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้งที่สะสมในร่างกาย  คนและสัตว์
การทดสอบแป้ง   ทดสอบโดยใช้สารละลายไอโอดีนมีสีเหลืองน้ำตาลถ้าเป็นแป้ง  และเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือม่วงดำ


หน้าที่และประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต 
        
1.  ให้พลังงานและความร้อน  (  1  กรัม  ให้พลังงาน 4 แคลอรี่ )
        2.  ช่วยสงวนโปรตีนให้ร่างกายนำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์มากที่สุด
        3.  คาร์โบไฮเดรตที่เหลือใช้   เปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกายได้

มอโนแซ็กคาไรด์ ( น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว )
มอโนแซ็กคาไรด์มีหลายชนิด แตกต่างกันที่จำนวนคาร์บอนและโครงสร้างโมเลกุล เช่น น้ำตาลที่คาร์บอน 5 อะตอม เรียกว่า ไรโบส มีสูตรโมเลกุล C 5 H 10 O 5 ส่วนน้ำตาลที่มีคาร์บอน 6 อะตอม เช่น กลูโคส กาแลกโทส และฟรักโทส มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน คือ C 6 H 12 O 6 แต่โครงสร้างต่างกันจึงมรสมบัติต่างกัน
•  น้ำตาลกลูโคสและฟรักโทส พบมากในผลไม้ที่มีรสหวาน
•  น้ำตาลกาแลกโทส พบมากในน้ำนมของคนและสัตว์
กลูโคสเป็นโมเลกุลเล็กที่สุดที่ร่างกายดูดซึมเข่าสู่เซลล์ที่ผนังลำไส้เล็กและนำไปใช้ได้ทันที แต่อาหารจำพวกแป้ง ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ต้องผ่านกระบวนการย่อยเสียก่อนจึงจะนำไปใช้ได้ ดังสมการ 


ส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ในการสลายเป็นพลังงาน อีกส่วนจะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ เพื่อนำไปใช้ในการรักษาระดับกลูโคสในเลือด ส่วนที่เหลือเก็บสะสมไว้ในรูปของไกลโคเจน เมื่อร่างกายขาดแคลนพลังงาน ไกลโคเจนจะถูกนำมาสลายเป็นกลูโคส ดังสมการ

ไดแซ็กคาไรด์ ( น้ำตาลโมเลกุลคู่ )ไดแซ็กคาไรด์ ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเคมี น้ำตาลโมเลกุลคู่ที่นักเรียนควรรู้จัก ได้แก่

 
น้ำตาลกลูโคสและฟรักโทส เมื่อนำมาหมักกับยีสต์สายพันธุ์ที่เหมาะสม จะเกิดการย่อยสลายเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ ดังสมการ


พอลิแซ็กคาไรด์
พอลิแซ็กคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดใหญ่มาก แบ่งออกเป็น  3 ชนิด ได้แก่
•  แป้ง
•  เซลลูโลส
•  ไกลโคเจน                        
                

กรดนิวคลีอิก

กรดนิวคลีอิก เป็นสารโมเลกุลชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
•  deoxyribonucleic acid ( DNA )
•  ribonucleic acid ( RNA )
•  DNA ทำหน้าที่เป็นสายพันธุกรรม
•  RNA ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์
 
คำถามหลังเรียน
1.  คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )  คือ  ...................
2.  คาร์โบไฮเดรต  มีกี่ประเภท  คือ ....................
3.  แป้งสามารถย่อยให้เป็นน้ำตาลได้  โดยการต้มกับกรด ..................
4.  จงยกตัวอย่างไดแซ็กคาไรด์ ( น้ำตาลโมเลกุลคู่ ) มา 2 ชนิด ........
5.  พอลิแซ็กคาไรด์ มีกี่ชนิด  อะไรบ้าง ......................
6.  การทดสอบน้ำตาลกลูโคส  ใช้สารอะไรทดสอบ ........................
7.  การทดสอบแป้ง  ใช้สารอะไรทดสอบ ...... และถ้ามีแป้งเป็นส่วนประกอบ  จะเปลี่ยนสีจากสี ........ เป็น
8.  จงบอกหน้าที่และประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต .......................
9.  กรดนิวคลีอิก เป็นสารโมเลกุลชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็น  กี่ชนิดอะไรบ้าง ......................
10. สูตรทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตคือ ...................

ทำได้ไหมจ๊ะ  ถ้าทำได้หรือไม่ได้ยังไง  ก็ลองมาดูเฉลยกันดีกว่า ...


1.  คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )  คือ
คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )  คือ   สารอาหารที่ประกอบด้วยคาร์บอน   ( C )   ไฮโดรเจน ( H )  และออกซิเจน ( O )
2.  คาร์โบไฮเดรต  มีกี่ประเภท  คือ
มี  2  ประเภท   ดังนี้
1.   น้ำตาล   ได้แก่  คาร์โบไฮเดรตที่มีรสหวาน  ละลายน้ำ  ได้แก่   ก.  น้ำตาลเชิงเดี่ยว

2.   แป้งและเซลลูโลส
3.  การทดสอบแป้งสามารถทดสอบได้  โดยการใส่สารใดแล้วถ้ามีแป้ง จะเปลี่ยนสีใดเป็นสีใด ?
ทดสอบโดยใช้สารละลายไอโอดีนมีสีเหลืองน้ำตาลถ้าเป็นแป้ง  และเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือม่วงดำ
4.  จงยกตัวอย่างไดแซ็กคาไรด์ ( น้ำตาลโมเลกุลคู่ ) มา 2 ชนิด
น้ำตาลทราย ,  น้ำตาลมอลโทส
5.  พอลิแซ็กคาไรด์ มีกี่ชนิด  อะไรบ้าง ?
แบ่งออกเป็น  3 ชนิด ได้แก่
•  แป้ง
•  เซลลูโลส
•  ไกลโคเจน
6. การทดสอบน้ำตาลกลูโคส  ใช้สารอะไรทดสอบ ?
ทดสอบโดยใช้สารละลายเบเนดิกต์  ( Benedict s   solution )  เติมลงในสารที่ต้องการทดสอบ  นำไปต้ม  ถ้าเป็น กลูโคส จะเปลี่ยนสี   จากสีฟ้าเป็นตะกอนสีส้มอิฐ
7.  สูตรทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตคือ  ?
มีสูตรทั่วไปเป็น (CH 2 O) n คาร์โบไฮเดรตเรียกอีกอย่างว่า แซ็กคาไรด์ มีทั้งโมเลกุลขนาดเล็ก ได้แก่ มอโนแซ็กคาไรด์ ไดแซ็กคาไรด์ และพอลิแซ็กคาไรด์
8.  จงบอกหน้าที่และประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต .......................
1.  ให้พลังงานและความร้อน  (  1  กรัม  ให้พลังงาน 4 แคลอรี่ )
        2.  ช่วยสงวนโปรตีนให้ร่างกายนำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์มากที่สุด
        3.  คาร์โบไฮเดรตที่เหลือใช้   เปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกายได้
9.  กรดนิวคลีอิก เป็นสารโมเลกุลชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็น  กี่ชนิดอะไรบ้าง ..................
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
•  deoxyribonucleic acid ( DNA )
•  ribonucleic acid ( RNA )
DNA ทำหน้าที่เป็นสายพันธุกรรม
RNA ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์
10. น้ำตาลกาแลกโทสพบมากใน ?
พบมากในน้ำนมของคนและสัตว์